Friday, March 19, 2010

Macro

สวัสดีครับ
ผมเพิ่งกลับมาจากต่างจังหวัด ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า ครั้งก่อนที่ไปที่นั่น มีเพื่อนโทรมาถามเรื่องเลนส์
เค้าอยากได้เลนส์มาโครครับ ก็เลยให้คำแนะนำไปตามแนวทางของผม

จริงๆจุดประสงค์ของการถ่ายมาโคร คือการถ่ายของเล็กๆ ให้มันใหญ่ ขยายมันขึ้นมา เก็บรายละเอียด
ฉะนั้น เลนส์ที่ใช้ต้องเน้นอัตราขยายสูงๆ เก็บรายละเอียดให้ได้มากๆ คมจัด ชัดจริง
เลนส์ที่เป็นมาโครตอนนี้ ที่เห็นๆจะมีอยู่สองแบบหลักๆ คือ มาโครแท้ๆ กับพวกเทเลมาโคร

มาโครแท้ๆที่ว่า คือจะมีอัตราขยาย เป็น 1:1 ชิ้นเลนส์ถูกออกแบบมาให้เก็บรายละเอียดได้สูง
เท่าที่เจอมาจะเป็นเลนส์ fix ทั้งหมดครับ เริ่มตั้งแต่ 60mm., 85mm., 100mm., 105mm. หรืออื่นๆ
อัตราขยายที่ว่า 1:1 คือภาพที่ตกลงบนตัวรับภาพ (ไม่ว่าจะฟิล์ม หรือ sensor) จะมีขนาดเท่าของจริง
ยกตัวอย่างว่า ฟิล์ม ถ้าเราถ่ายเหรียญ 1 บาท เมื่อล้างฟิล์มมาแล้ว เหรียญในฟิล์มจะเท่าเหรียญจริง
แต่ถ้าเป็น Digital ก็จะเอามาเทียบลำบากครับ

ส่วนพวกเลนส์เทเลมาโคร จะเป็นเลนส์เทเลซูมนั่นแหละ สามารถสร้างอัตราขยายได้ไม่ถึง 1:1
เท่าที่เคยเจอมาจะเป็น 1:4 ซะเป็นส่วนมากเลยครับ (1:2 ก็มีนะครับ)
เลนส์ที่ว่าก็จะอยู่ในช่วง 70-300, 100-300 ฯลฯ

ไม่ว่าจะเป็นมาโครแบบไหน ก็จะต้องถ่ายให้ใกล้ที่สุดเท่าที่เลนส์จะทำได้ ถึงจะได้อัตราขยายสูงสุด
นอกจากเลนส์มาโครแล้ว การถ่ายของเล็กๆให้ใหญ่ ก็มีวิธีอื่นๆอีกครับ ไว้จะพูดถึงอีกทีนึงนะครับ

มาดูตัวอย่างเลนส์กันดีกว่าครับ

ตัวนี้คือ Sigma APO MACRO 150mm F2.8 EX DG HSM
Lens Construction
16 Elements in 12 Groups
Angle of View 16.4 degrees
Number of Diaphragm Blades 9 Blades
Minimum Aperture F22
Minimum Focusing Distance 38cm/15.0 in.
Maximum Magnification 1:1
Filter Size Diameter 72mm
Dimensions Diameter 79.6mm X Length 137mm
3.1 in. X 5.4 in.
Weight 895g/31.6 oz.
Corresponding AF Mounts SIGMA, CANON, NIKON (D)* Nikon mount of this lens is not equipped with an aperture ring, therefore, depending on the camera model some functions may not work.

อีกตัวนึง เทเลละกัน
Sigma APO 70-300mm F4-5.6 DG MACRO

Lens Construction 14 Elements in 10 Groups
Angle of View 34.3 - 8.2 degrees
Number of Diaphragm Blades 9 Blades
Minimum Aperture F22
Minimum Focusing Distance 150cm / 95cm(Macro mode)
Maximum Magnification 1:4.1 / 1:2(Macro mode)
Filter Size Diameter 58mm
Dimensions Diameter 76.6mm X Length 122mm
Weight 550g

สองตัวนี้ ต่างกันยังไง ก็อย่างบอกไปแล้ว ตัวบน fix ได้อัตราขยาย 1:1 ครับ 150mm.
ตัวล่าง เป็นเทเลซูม ได้อัตราขยายที่ 1:2 ใน Macro Mode ซูมได้

มาถึงคำถามสุดท้าย แล้วจะเลือกซื้อยังไงหล่ะ
อันนี้แหละครับ ตอบยาก ของแบบนี้ต้องลองถึงจะรู้ครับ
ยกตัวอย่างผมเอง ตอนนี้มี 100mm. macro อยู่ 1 ตัว สิ่งที่รู้สึกได้
โฟกัสได้ใกล้สุดที่ 30 cm. ไม่มีปัญหา
ทางยาวโฟกัส 100mm. ถ่าย Portrait ก็พอได้ แต่ต้องถอยไกลหน่อย คมเกินไป
ถ่ายงานทั่วไป ลำบาก ใช้เป็นเทเลก็พอได้ครับ แต่ซูมไม่ได้
คิดไปคิดมา ถ้าตอนนั้นซื้อ 60mm. macro คงจะเหมาะกว่า และอาจไม่ต้องซื้อ 50mm. fix มาอีกตัว
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
ยังไงจะเลือกซื้อ ก็มองหาประโยชน์ในแนวอื่นไว้ด้วยนะครับ
จะได้ประหยัดงบ ไม่ต้องแบกของเยอะเกินไป
แต่ถ้ามีงบเยอะ ก็ซื้อมาเผื่อเลือก รีดคุณภาพแบบสุดๆละกันครับ

เอาไว้เท่านี้ก่อนละกันครับ
ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ
สวัสดีครับ

Friday, March 5, 2010

Micro four thirds system.(2)

สวัสดีครับ วันนี้ 5 มีนาคม 2553
ภาคต่อของ Micro four thirds ก็มา อิิอิ
ก็ประมาณนั้นนะครับ ทำไมถึง four thirds คงรู้กันแล้ว
ต่อไปก็คงจะไม่ยาวมากละครับ กะว่าจะจบตอนนี้แหละ

ถ้าย้อนกลับไปตอนสอนถ่ายภาพ คงจะพอมองเห็นว่า ส่วนประกอบของกล้อง SLR มีอะไรบ้าง
เล่าใหม่สั้นๆ แสงจะผ่านเลนส์ มายังกระจกสะท้อนภาพ ขึ้นมาสะท้อนเข้ามาที่ช่องมองภาพ
พอเราจัดแจงวัดแสง โฟกัส เรียบร้อย ตอนถ่ายจริง กระจกสะท้อนภาพก็จะกระดกหลบ
แสงก็จะผ่านไปได้ ชัตเตอร์ก็เปิดรับแสง และปิด เป็นอันจบกระบวนการถ่ายภาพ

Micro four thirds จับเอากล้อง SLR มาถอดกระจกสะท้อนภาพออก เพื่อลดความหนา
ช่องมองภาพก็หายตามไป ได้เป็น EVF=Electronics View Finder มาแทน
หรืออาจย้อนยุคกลับไปหา View Finder แบบโบราณแบบกล้อง Range Finder
คือเป็นช่องมองภาพแบบแยก ไม่ได้มองผ่านเลนส์ที่ใช้รับภาพ (อาจมีความคลาดเคลื่อน)
แต่แลดู คลาสสิค เก๋า ว่างั้น แหะๆ
ที่แน่ๆ ดูได้จาก LCD หลังกล้องอ่ะนะครับ

ก่อนจะไปไกล ดูรูปดีกว่า

ภาพจาก http://www.four-thirds.org/en/microft/index.html นะครับ

จากรูปก็พอจะเห็นว่า กล้องมันบางลง โครงสร้างมันก็เปลี่ยนไป
เป็น SLR แปลงกาย เค้าถึงได้สรรเสริญมันว่า "ได้ภาพใกล้เคียง SLR"
รูปอันบนสุดคือ ระยะระหว่างเลนส์กับตัวรับภาพ
เลนส์อันใหญ่คือ four thirds (SLR) อันเล็กคือของ Micro four thirds
จะเห็นว่า เลนส์มันก็จะเล็กลงไปด้วย (หากใครสงสัยว่า เลนส์มันเล็กว่า แล้วจะใกล้เคียง SLR ได้ไง)
รูปกลาง กับล่างก็คือ ผ่ามันทั้งสองอันให้ดู ว่ามีกระจก กับไม่มีกระจกงะ

อ่ะ ก็มาดูกันบ้างว่า ตอนนี้มันมีกี่รุ่น อะไรกันบ้างนะครับ
http://www.four-thirds.org/en/microft/body.html
ไปดูตาม link เอาละกันนะครับ (อารมณ์สะดุด เขียนต่อไม่ไหว อิอิ)

แต่ละตัวก็มีอะไรต่างๆกันไป อยากรู้อะไรก็ comment ไว้ได้นะครับ
ตอบได้จะตอบให้ ตอบไม่ได้ ก็จะลองดูก่อน
สวัสดีครับ

Wednesday, March 3, 2010

ภาพล้านนาในอดีต

ขอคั่นรายการด้วย LINK ดีดีที่ไปเจอมา โดยบังเอิญ
http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/
อาจจะเคยเห็นภาพกันมาแล้ว แต่ยังสงสัยว่า ใครถ่าย มาจากไหน
คำตอบอยู่ในนี้แล้วครับ ลองไปหาดูครับ

Micro four thirds system.

สวัสดีครับ
จริงๆวันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาทฤษฎีอะไรมากมาย ก็เริ่มมาจากคำถามอีกแหละครับ
เรื่องมันเริ่มต้นจากบทสนทนาใน MSN

เด็กชายโหน่ง : พี่ทอม
เด็กชายโหน่ง : ว่างก่อ (ว่างไม๊)
เด็กชายโหน่ง : ขอความรู้หน่อย
ToMmY : ว่า
เด็กชายโหน่ง : http://www.zoomcamera.net/บทความ-เปรียบเทียบ-กล้องดิจิตอล/Review-Panasonic-GF1.html
เด็กชายโหน่ง : ทำไมไอ้นี่มันแพงกว่า พวก dslr คับ
เด็กชายโหน่ง : มีโอลิมปัสแหม (แหม=อีก)
เด็กชายโหน่ง : รุ่นที่เปลี่ยนเลนส์ได้นะ
เด็กชายโหน่ง : หยั่งมันมาแพง (หยั่ง=หยั๋ง=ทำไม)

นี่หล่ะครับ ต้นเหตุ
กล้องที่พูดถึงอยู่นี่ก็มีด้วยกันสองตัว สองค่าย
1. Panasonic GF1
2. Olympus ตัวนี้ไม่ได้คุยกันเรื่องรุ่น แต่ก็เดาได้ว่าเป็น E-P1, E-P2 หรือ E-PL1 ตัวใดตัวนึงหรือทั้งหมด (ว่ามาซะยาว)

กล้องพวกนี้เป็น standard ใหม่ หรือเรียกว่าเป็น format ใหม่
ต้องย้อนกลับไปมองว่า กล้องถ่ายรูปมันมีกี่ standard หรือ กี่ format
ที่เห็นชัดๆทุกวันนี้ก็จะมีกล้องที่เป็น SLR และ compact (คงรู้จักกันดีแล้ว)
แล้วมันมีอะไรอีกหล่ะ ก็เช่นพวก Medium format ที่ส่วนใหญ่จะเห็นเอาไว้ถ่ายแบบในสตูดิโอ (ที่ต้องส่องจากด้านบนกล้องหน่ะ)
ใหญ่ไปอีกก็ Large format หรือเล็กๆไปอีกก็มีนะ ไม่พูดถึงละกันนะครับ

กลับมาที่ format ใหม่ที่ว่า คือ Micro four thirds system.
ก่อนจะมาเป็นตัวนี้ มันจะเป็นอะไร ไปไม่ได้นอกจาก four thirds system เฉยๆ
เพราะ Micro คือเล็กกว่าเดิมนั่นแหละ แล้ว four thirds มันคืออะไร
อธิบายสั้นๆ ก็คือ ตัวรับภาพในกล้อง (sensor) มีอัตราส่วนเป็น 4:3 นั่นเองครับ (บางท่านคงจะรู้แล้ว)
บางท่านที่เล่น SLR ค่ายฮิต ก็อาจจะเริ่มสงสัยแล้ว "ของผมเป็น 3:2 นะเฟ่ย"
ใช่ครับ อันนั้นก็เป็นอีก format นึงครับ (ชักจะหลาย format ซะละ)
เฉพาะเรื่องของ อัตราส่วนของ sensor ก็จะงงกัน เลยเอารูปมาให้ดูกันดีกว่า

รูปนี้ยืมมาจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Four_Thirds_system นะครับ
จากรูปก็จะเห็นว่าเป็นการเทียบขนาดของ sensor ใน format ต่างๆ รวมถึง film 35mm. ด้วย
กลุ่มเล็กๆนั่นจะเป็นพวก compact นะครับ ส่วนกลางๆก็จะเป็น SLR ค่ายต่างๆ
ที่ระบุค่ายไปแล้วก็เห็นว่ามี Nikon Pentax Sony Canon Sigma
ที่เหลือที่ไม่ระบุ ก็เหมาเอาว่าเป็น four thirds ละกัน อิอิ
จริงๆ ก็จะมี Fuji Kodak Leica Olympus Panasonic Sanyo Sigma(บางตัว)

น่าจะพอเข้าใจในเบื้องต้นกันแล้วนะครับ พักครึ่งซักหน่อยละกันครับ
สวัสดีครึ่งตอน