Sunday, February 28, 2010

สอนถ่ายรูปหน่อย ตอน 2


หลัง จากรู้จักส่วนประกอบในการให้เกิดภาพแล้ว รู้จักโหมดต่างๆไปบ้างแล้ว ลองใช้ไปบ้างแล้ว คราวนี้เรามาดูกันต่อนะครับว่า การทำงานของกล้องจริงๆ มันเป็นยังไง พอดีผมมีกล้องฟิล์มเก่าๆ (SLR) อยู่ตัวนึงเลยเอามาเป็นแบบสำหรับงานนี้ แต่ผมจะอธิบายแบบกลางๆนะครับ คือไม่ได้หมายความว่าเฉพาะ SLR เท่านั้นที่จะเป็นแบบนี้ กล้องอะไรๆ ก็น่าจะเป็นแบบนี้นะครับ

มา ดูกันที่ส่วนแรกคือเลนส์ ตัวที่ให้ควบคุมความชัดของภาพที่จะได้ เลนส์จะมีวงแหวนปรับความชัด หรือปรับ Focus นั่นเอง นอกจากนั้นก็จะมีวงแหวนปรับซูม (หรืออาจไม่มี ถ้าเป็นเลนส์แบบไม่มีซูม อิอิ) วงแหวนที่มีจะมี scale บอกระยะ หรือช่วงในการปรับต่างๆ เช่นระยะโฟกัสเป็นเมตรหรือฟุต ช่วงซูมมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (mm.) อีกส่วนประกอบนึงที่อยู่ในเลนส์ตัวนี้คือรูรับแสงครับ ก็จะมีวงแหวนสำหรับปรับอีกเช่นกัน และมี scale บอกอีกเช่นกัน ตามที่เคยบอกไว้นะครับ เลนส์ตัวนี้จะปรับรูรับแสงได้กว้างสุดที่ 3.5 ต่อไปก็ 5.6 8 11 16 และแคบสุดที่ 22 อาจมีคนถามว่าไม่เห็นเหมือนกับที่ยกตัวอย่างในตอนที่แล้วเลย อ่อคือว่า มันจะไม่สามารถปรับได้ครบขนาดนั้นหรอกนะครับ แล้วแต่เลนส์ที่ผลิตออกมามากกว่าครับว่าจะให้ปรับได้แค่ไหน ค่อยมาว่ากันอีกทีละกันครับ อีกอย่างครับ ถ้าดูจากรูปจะเห็นว่ารูรับแสงจะเป็นรูปหกเหลี่ยม ก็คือแผ่นที่เอามาประกอบเป็นรูรับแสงมันมีหกชิ้นนั่นเองครับ

มา ดูกันต่อที่ตัวกล้องนะครับ ในตัวกล้องก็จะมีสองส่วนที่เหลือที่จะทำให้ได้ภาพคือ ม่านชัตเตอร์ และตัวรับภาพ ในตัวอย่างจะเป็นม่านชัตเตอร์แบบโลหะ เคลื่อนที่ในแนวตั้งนะครับ ม่านจะมีสองชุด การทำงานของมันคือชุดหนึ่งจะปิดอยู่ก่อน และอีกชุดจะเปิดอยู่ ชุดแรกจะทำหน้าที่เปิดให้แสงเข้ามา ส่วนชุดหลังจะทำหน้าที่ปิดการรับแสงตามเวลาที่เหมาะสม ก็อย่างที่บอกไปตอนที่แล้วนะครับ จะใช้หนว่ยวินาทีและเศษหนึ่งส่วนวินาทีในการเรียก ไม่ใช้ศูนย์จุดนะครับ (แต่ในคอมพิวเตอร์มักจะเจอ 0.5 วินาที อะไรแบบนี้ด้วย) ตัวนี้ก็จะปรับได้เร็วที่สุดคือ 1/2000 วินาที แค่ปกติจะไม่เขียน 1/ นะครับ เค้าจะเรียกว่า 2000 ไปเลย หมายถึง 1/2000 นั่นแหละ น้อยลงมาก็จะเป็น 1000 500 250 125 60 30 15 8 4 2 1 และ B คือ Bulb หรือกำหนดเวลาเอง (กล้องตัวนี้ก็คือนับเอาเองว่าจะเอากี่วิฯ หรือกี่นาที) ส่วนตัวรับภาพของกล้องตัวนี้คือฟิล์ม มันก็จะวางพาดอยู่หลังม่านชัตเตอร์นั่นหละครับ ถ้าเป็นกล้อง Digital มันก็จะเป็นตัวเซนเซอร์รับภาพแทนไป (ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม แต่มีกล้องบางรุ่นที่มีเซนเซอร์ขนาดเท่าฟิล์ม)






ส่วน อีกตัวนึงที่ผมยังไม่ได้พูดถึง เพราะว่ามันจะมีอยู่ในกล้องที่เป็น SLR เท่านั้นก็คือ กระจกสะท้อนภาพ ซึ่งจะเห็นอยู่ด้านหน้าของกล้อง มันจะทำหน้าที่ในการสะท้อนภาพที่ผ่านเลนส์เข้ามา ขึ้นไปยังส่วนที่เรียกว่าหัวกะโหลก หรือตรงช่องมองภาพนั่นเองครับ กล้องแบบที่เป็น compact หรือพวก range finder จะไม่มีตัวนี้ การทำงานของมันคือสะท้อนภาพ แต่จะเห็นว่ามันจะบังตัวม่านชัตเตอร์อยู่ด้วย เพราะฉะนั่นเวลาเรากดชัตเตอร์ กระจกตัวนี้จะกระดกหลบขึ้นไปด้านบน เพื่อให้แสงผ่านเข้าไปยังตัวรับภาพได้ ดังนั้นภาพที่เรามองจากช่องมองภาพจะมืดไปแว็บนึง ตามความไวชัตเตอร์ที่ใช้ถ่ายภาพนั่นหละครับ

รูรับแสง 22

รูรับแสง 11

รูรับแสง 5.6

รูรับแสง 3.5



เอา เป็นว่า ก็ประมาณนี้นะครับ ส่วนประกอบของกล้องที่จะทำให้เกิดภาพได้ ไม่ว่าจะกล้องอะไร ต้องมีสิน่า จะกล้องฟิล์มปัญญาอ่อน ปัญญาแข็ง โลโม่ โอโม่ โอแม้ว กล้องดิจิตอล คอมแพค SLR-Like ไม่ like มันต้องมีสิน่า สี่ตัวนี้ (อาจจะขาดไปบางอย่าง ในกล้องบางแบบ) เดี๋ยวถ้ามีเวลาอีกจะทำเป็น clip มาให้ดูดีกว่า ชัดๆกันไปเลย

ส่วนตอนนี้จะดูเป็นทฤษฎีมากไป เพิ่มเติมให้อีกนิดเรื่องของผลของความไวชัตเตอร์ละกันครับเผื่อจะได้ไปลอง กัน ความไวชัตเตอร์มันสัมพันธ์ตรงๆกับรูรับแสงอยู่แล้ว มันมีผลกับภาพยังไง เอาง่ายๆ ของที่ดิ้นได้ ขยับได้ มันจะมีผลในภาพ หากว่าเราใช้ความไวสูงๆ เราอาจเห็นสิ่งที่เคลื่อนไหว ดูเหมือนไม่เคลื่อนไหว แต่หากเราใช้ ความไวชัตเตอร์ต่ำๆ สิ่งที่เคลื่อนไหวขณะที่ม่านชัตเตอร์เปิดอยู่ ก็จะแสดงความเคลื่อนไหวของมันให้เห็นในภาพเอง ลองดูจากตัวอย่าง การใช้ชัตเตอร์ต่ำๆนะครับ แล้วก็ไปลองกันดูครับ

ภาพ ตัวอย่าง ใช้ชัตเตอร์เกิน 1-2 วินาที ต้องใช้ขาตั้งกล้อง และคนในภาพต้องนิ่งอยู่จนกว่ากล้องจะทำงานเสร็จนะครับ จะมีน้ำเท่านั้นที่ไหลผ่านจนเป็นทางสีขาว ดูเหมือนจะนุ่มนวลครับ



เชิญ comment หรือสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ ไว้เจอกันตอนหน้าครับ

Thursday, February 25, 2010

สอนถ่ายรูปหน่อย (เก่ามาจาก multiply)

อยู่ดีดีน้องผมมันก็มาให้สอนถ่าย รูปให้ ถือกล้อง S5500 มาด้วย 1 ตัว (ใส่มาในถุงแส้วๆ(ถุงก๊อบแก๊บ)) จริงๆ อีกอย่างคือกล้องมันเสีย อาการคืออยู่ดีดีก็ดับไปเฉยๆ

save as draft ไว้ หลายเดือนผ่านไป

หลัง จากไปทำอะไรช่วยคนอื่นรุ่งเรืองเนืองนอง ก็กลับมาทำอะไรของตัวเองบ้างครับ มาต่อกันที่กล้องตัวที่ว่ามันเสีย แต่ตอนผมถืออยู่มันไม่เป็นครับ เล่นเข้าไป กดนั่น จิ้มนี่ ไม่เป็นไร ไม่ดับแฮะ ก็เลยมาว่ากันที่ถ่ายยังไงดีกว่า กล้องที่ไม่ปัญญาอ่อนเกินไปนัก มักจะมีโหมดหลักๆอยู่ 4-5-10 โหมด มันจะถูกแบ่งออกเป็นโหมดปัญญาอ่อน โหมดสำเร็จรูป หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกอย่างนึงหละ อีกกลุ่มนึงก็จะเป็นโหมดก้าวหน้า โหมดพัฒนา รึอะไรก็แล้วแต่จะเรียกอีกนั่นแหละครับ

แบบ แรกจะเป็นแบบที่ไม่ต้องไปปรับอะไรมันมาก ปรับโหมดนี้แล้วถ่ายตามชนิดของภาพที่จะถ่ายได้เลย พวกนี้จะใช้สัญลักษณ์เป็นรูปของโหมด เช่น คนวิ่ง พระจันทร์ ดาวแฉก ภูเขา(อ๊ะเกือบลืม 55) ก็น่าจะเดากันออกนะครับว่าแต่ละรูปหมายถึงอะไรบ้าง ส่วนแบบที่สองที่ว่า เราสามารถปรับโน่นนี่นี่นั่นได้เยอะแยะมากมาย เพราะงั้นจึงต้องเข้าใจเรื่องหลัการทำงานของกล้องซักหน่อย แล้วจะถ่ายได้เป็นเรื่องเป็นราวหน่อย กลุ่มนี้จะใช้ตัวอักษรแทนรูปในแต่ละโหมด เช่น P S A M หรือบางยี่ห้อก็เป็น P AV TV M แล้วแต่ยี่ห้อครับ

อ่ะ มีรูปมาให้ดูด้วย อิอิ (เค้ากำลังพูดถึงเรื่องเครดิตกัน) เอามาจาก www.dpreview.com นะครับ (จะโดนจับไม๊เนี่ยกู) มาว่าถึงการทำงานของกล้องกันดีกว่า ในเบื้องต้นจะอธิบายยืดยาวก็จะไม่ได้ถ่ายกันพอดี เอาแบบรวบหัวรวบหางเลยแล้วกันครับ ส่วนประกอบของกล้องทั่วๆไปก็จะมี เลนส์(จะถอดได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่อง แต่มีแน่ นอกซะจากกล้องรูเข็ม) รูรับแสง ม่านชัตเตอร์ และ ตัวรับภาพ (เพื่อเอาไปเก็บ หรือเอาไปโช) ภาพที่เราจะถ่ายจะต้องผ่านสิ่งเหล่านี้มาตามลำดับครับ เลนส์จะทำหน้าที่ในการปรับภาพให้คมชัดตามที่เรา หรือกล้องต้องการ ชัดตรงนั้นชัดตรงนี้ ฯลฯ รูรับแสงจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่จะผ่านเข้ามาให้มาก หรือน้อยตามความจำเป็น (จำเป็นยังไงเดี๋ยวมาว่ากัน) ม่านชัตเตอร์ทำหน้าที่เปิดเพื่อรับแสง และปิดเพื่อไม่รับแสง (อ๊ะ ยังไง) ตัวสุดท้ายคือตัวรับภาพเพื่อเอาไปเก็บ หรือแสดงผล

สิ่งที่เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนเลยคือ ภาพหนึ่งภาพที่จะได้มาจะได้มาจากการคำนวณแสงในภาพที่เราจะถ่ายว่าพอดีหรือ ไม่ (คงเคยเห็นภาพแบบมืดไปบ้าง สว่างไปบ้าง อันนั้นคือไม่พอดีว่าง่ายๆ) ซึ่งก็จะมีระบบวัดแสงหลายแบบ (ไว้ว่ากันทีหลัง) แบบทั้วๆไปที่จะใช้เยอะก็คงเป็นแบบเฉลี่ย คือเอาค่าความสว่างของแสงทั้งภาพมาเฉลี่ยกัน เฉลี่ยแค่ไหน ถ้าตามทฤษฎีดั้งเดิมก็ประมาณว่าเอาแสงที่ได้มาคนรวมกันจะได้เป็นสีเทากลาง (18% อะไรนี่แหละ) อะเอาเป็นว่าพอดีก็คือพอดี ทีนี้การจะได้ภาพกล้องจะคำนวณให้ว่ารูรับแสงต้องเปิดกว้างแคบเท่าไหร่ มีความสัมพันธ์กับม่านชัตเตอร์ที่จะต้องเปิดรับแสงเป็นเวลานานแค่ไหน (คือปกติจะปิด เปิดรับแสง เมื่อครบเวลา ก็ปิดเหมือนเดิม)

ภาพเดียว กันสามารถตั้งค่ารูรับแสง และค่าเวลาในการเปิด-ปิดม่านชัตเตอร์ (ต่อไปจะเรียกว่าความไวชัตเตอร์นะครับ) ได้หลายค่า (ยังไงเหรอ) ตามที่บอกว่าค่าทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน หากรูรับแสงกว้างแสงเข้าได้เยอะ เวลาในการเปิดรับก็ไม่ต้องนาน ภาพก็จะได้แสงพอดี แต่ถ้าเปิดรูรับแสงแคบลง ก็คงต้องใช้เวลาในการเปิดรับแสงมากขึ้นตามนั้น ค่าเหล่านี้จะมีค่าเป็นตัวเลขเรียงลำดับ แต่ไม่ปกติ (ไม่ใช่ 1 2 3 4...) ในแต่ละละดับเลขจะเรียกว่า stop (คือ step นั่นเอง) ค่าของรูรับแสงจะเริ่มจากเลขสองตัว แล้วเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวสลับกันไปคือ 1 1.4 2 2.8 4 5.6 8 11 16 22 32 44 64 ส่วนค่าของเวลาในการเปิดรับแสง (ความไวชัตเตอร์) จะเป็นได้ตั้งแต่ วินาที และสั้นกว่านั้นจะเรียกเป็น 1 ส่วน วินาที และจะเป็นการเพิ่มแบบเบิ้ลเช่นกัน เช่น 4 (วิ) 3 2 1 1/2 1/4 1/8 1/16 1/32 1/64 1/125 1/250 .......

อะ มาสรุปก่อนดีกว่า เดี๋ยวจะยาวไป สรุปว่า โหมดที่เป็นสีเขียว auto รูปภาพ ปรับไปถ่ายได้เลยตามความเหมาะสม แสงไม่พอแฟลชก็จะขึ้นเอง ปรับ iso ไม่ได้ (คือไม่ต้องปรับอะไรหนะถ่ายอย่างเดียวพอ) ส่วนโหมดที่เป็นตัวอักษร P ก็จะคล้าย Auto แต่ปรับอย่างอื่นได้บ้าง ค่อยมาว่ากันทีหลังละกันครับ โหมด A S AV TV คือการปรับอย่างใดอย่างหนึ่งเอง คือ ปรับรูรับแสงเอง กล้องจะปรับความไวชัตเตอร์ให้อัตโนมัต หรือปรับความไวชัตเตอร์เอง กล้องจะปรับรูรับแสงให้อัตโนมัติ และ M กล้องจะให้ปรับเองทั้งสองอย่าง โดยเราต้องดูตัววัดแสงเองว่า พอดีหรือยัง อืมมมมม

จบตอนแรก ไปลองถ่ายดูน้อง อิอิ

Wednesday, February 24, 2010

สวัสดีชาวโลก

สวัสดีครับ นี่ก็เป็นวันแรกสำหรับ tommy easy photo เป็น blog ใหม่ล่าสุดของผมเอง (ทำไว้เยอะแยะ) อย่างที่ทราบๆกันว่า มี blog มากมายในโลกนี่ที่ได้รับความนิยมในแนวต่างๆกันไป เช่น multiply สำหรับนักถ่ายภาพส่วนใหญ่, Hi5 สำหรับวัยรุ่นมาเม้นกันเล่นๆ,space (ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนไปฝังอยู่ใน live.com) หรือแม้แต่ blog สัญชาติไทยอย่าง bloggang และอื่นๆอีกเยอะแยะ แล้วทำไมต้องมี blogspot อีก ก็เพราะผมได้ลองสร้างไปแล้วหนึ่งตัว รู้สึกว่ามันเข้าท่าดี ก็เลยอยากลองอีกสักตัวให้เป็นเรื่องเป็นราวหน่อย ประกอบกับช่วงนี้มีคนมาปรึกษาเรื่องกล้องกับผมบ่อยๆ (อ่ลืมบอก ว่าจะเขียนเรื่องการถ่ายรูป เรื่องกล้องนะครับ ที่นี่) เลยตัดสินใจทำมันขึ้นมาดื้อๆวันนี้เลย
ยุคนี้เป็นยุคเด็กตัวเล็กๆ ถือกล้อง compact ถ่ายรูปกันเป็นว่าเล่น วัยรุ่นจนวัยทำงานก็จะถือ SLR (ไม่ก็ SLR LIKE) คำถามที่ผมเจอบ่อยมากๆคือ ซื้อกล้องอะไรดี หรือไม่ก็มาแบบแรงๆ สอนถ่ายรูปหน่อยดิ แต่ละคำถามผมจะรวบรวมมาเขียน มาตอบในนี้เพื่อให้ท่านๆได้อ่านกันด้วย แต่จะเป็นลีลาในแบบของผมนะครับ ไว้คอยติดตามละกัน อะไรที่เขียนไว้แล้วก็จะเอามาลงในนี้ไปด้วยนะครับ ทำให้มันเป็น blog ที่เป็นสาระ (มากๆ) blog แรกของผมไปเลยละกัน

หวังว่าจะมีติดตามให้กำลังใจกันนะครับ (แหวะ)
tommy