Thursday, February 25, 2010

สอนถ่ายรูปหน่อย (เก่ามาจาก multiply)

อยู่ดีดีน้องผมมันก็มาให้สอนถ่าย รูปให้ ถือกล้อง S5500 มาด้วย 1 ตัว (ใส่มาในถุงแส้วๆ(ถุงก๊อบแก๊บ)) จริงๆ อีกอย่างคือกล้องมันเสีย อาการคืออยู่ดีดีก็ดับไปเฉยๆ

save as draft ไว้ หลายเดือนผ่านไป

หลัง จากไปทำอะไรช่วยคนอื่นรุ่งเรืองเนืองนอง ก็กลับมาทำอะไรของตัวเองบ้างครับ มาต่อกันที่กล้องตัวที่ว่ามันเสีย แต่ตอนผมถืออยู่มันไม่เป็นครับ เล่นเข้าไป กดนั่น จิ้มนี่ ไม่เป็นไร ไม่ดับแฮะ ก็เลยมาว่ากันที่ถ่ายยังไงดีกว่า กล้องที่ไม่ปัญญาอ่อนเกินไปนัก มักจะมีโหมดหลักๆอยู่ 4-5-10 โหมด มันจะถูกแบ่งออกเป็นโหมดปัญญาอ่อน โหมดสำเร็จรูป หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกอย่างนึงหละ อีกกลุ่มนึงก็จะเป็นโหมดก้าวหน้า โหมดพัฒนา รึอะไรก็แล้วแต่จะเรียกอีกนั่นแหละครับ

แบบ แรกจะเป็นแบบที่ไม่ต้องไปปรับอะไรมันมาก ปรับโหมดนี้แล้วถ่ายตามชนิดของภาพที่จะถ่ายได้เลย พวกนี้จะใช้สัญลักษณ์เป็นรูปของโหมด เช่น คนวิ่ง พระจันทร์ ดาวแฉก ภูเขา(อ๊ะเกือบลืม 55) ก็น่าจะเดากันออกนะครับว่าแต่ละรูปหมายถึงอะไรบ้าง ส่วนแบบที่สองที่ว่า เราสามารถปรับโน่นนี่นี่นั่นได้เยอะแยะมากมาย เพราะงั้นจึงต้องเข้าใจเรื่องหลัการทำงานของกล้องซักหน่อย แล้วจะถ่ายได้เป็นเรื่องเป็นราวหน่อย กลุ่มนี้จะใช้ตัวอักษรแทนรูปในแต่ละโหมด เช่น P S A M หรือบางยี่ห้อก็เป็น P AV TV M แล้วแต่ยี่ห้อครับ

อ่ะ มีรูปมาให้ดูด้วย อิอิ (เค้ากำลังพูดถึงเรื่องเครดิตกัน) เอามาจาก www.dpreview.com นะครับ (จะโดนจับไม๊เนี่ยกู) มาว่าถึงการทำงานของกล้องกันดีกว่า ในเบื้องต้นจะอธิบายยืดยาวก็จะไม่ได้ถ่ายกันพอดี เอาแบบรวบหัวรวบหางเลยแล้วกันครับ ส่วนประกอบของกล้องทั่วๆไปก็จะมี เลนส์(จะถอดได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่อง แต่มีแน่ นอกซะจากกล้องรูเข็ม) รูรับแสง ม่านชัตเตอร์ และ ตัวรับภาพ (เพื่อเอาไปเก็บ หรือเอาไปโช) ภาพที่เราจะถ่ายจะต้องผ่านสิ่งเหล่านี้มาตามลำดับครับ เลนส์จะทำหน้าที่ในการปรับภาพให้คมชัดตามที่เรา หรือกล้องต้องการ ชัดตรงนั้นชัดตรงนี้ ฯลฯ รูรับแสงจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่จะผ่านเข้ามาให้มาก หรือน้อยตามความจำเป็น (จำเป็นยังไงเดี๋ยวมาว่ากัน) ม่านชัตเตอร์ทำหน้าที่เปิดเพื่อรับแสง และปิดเพื่อไม่รับแสง (อ๊ะ ยังไง) ตัวสุดท้ายคือตัวรับภาพเพื่อเอาไปเก็บ หรือแสดงผล

สิ่งที่เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนเลยคือ ภาพหนึ่งภาพที่จะได้มาจะได้มาจากการคำนวณแสงในภาพที่เราจะถ่ายว่าพอดีหรือ ไม่ (คงเคยเห็นภาพแบบมืดไปบ้าง สว่างไปบ้าง อันนั้นคือไม่พอดีว่าง่ายๆ) ซึ่งก็จะมีระบบวัดแสงหลายแบบ (ไว้ว่ากันทีหลัง) แบบทั้วๆไปที่จะใช้เยอะก็คงเป็นแบบเฉลี่ย คือเอาค่าความสว่างของแสงทั้งภาพมาเฉลี่ยกัน เฉลี่ยแค่ไหน ถ้าตามทฤษฎีดั้งเดิมก็ประมาณว่าเอาแสงที่ได้มาคนรวมกันจะได้เป็นสีเทากลาง (18% อะไรนี่แหละ) อะเอาเป็นว่าพอดีก็คือพอดี ทีนี้การจะได้ภาพกล้องจะคำนวณให้ว่ารูรับแสงต้องเปิดกว้างแคบเท่าไหร่ มีความสัมพันธ์กับม่านชัตเตอร์ที่จะต้องเปิดรับแสงเป็นเวลานานแค่ไหน (คือปกติจะปิด เปิดรับแสง เมื่อครบเวลา ก็ปิดเหมือนเดิม)

ภาพเดียว กันสามารถตั้งค่ารูรับแสง และค่าเวลาในการเปิด-ปิดม่านชัตเตอร์ (ต่อไปจะเรียกว่าความไวชัตเตอร์นะครับ) ได้หลายค่า (ยังไงเหรอ) ตามที่บอกว่าค่าทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน หากรูรับแสงกว้างแสงเข้าได้เยอะ เวลาในการเปิดรับก็ไม่ต้องนาน ภาพก็จะได้แสงพอดี แต่ถ้าเปิดรูรับแสงแคบลง ก็คงต้องใช้เวลาในการเปิดรับแสงมากขึ้นตามนั้น ค่าเหล่านี้จะมีค่าเป็นตัวเลขเรียงลำดับ แต่ไม่ปกติ (ไม่ใช่ 1 2 3 4...) ในแต่ละละดับเลขจะเรียกว่า stop (คือ step นั่นเอง) ค่าของรูรับแสงจะเริ่มจากเลขสองตัว แล้วเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวสลับกันไปคือ 1 1.4 2 2.8 4 5.6 8 11 16 22 32 44 64 ส่วนค่าของเวลาในการเปิดรับแสง (ความไวชัตเตอร์) จะเป็นได้ตั้งแต่ วินาที และสั้นกว่านั้นจะเรียกเป็น 1 ส่วน วินาที และจะเป็นการเพิ่มแบบเบิ้ลเช่นกัน เช่น 4 (วิ) 3 2 1 1/2 1/4 1/8 1/16 1/32 1/64 1/125 1/250 .......

อะ มาสรุปก่อนดีกว่า เดี๋ยวจะยาวไป สรุปว่า โหมดที่เป็นสีเขียว auto รูปภาพ ปรับไปถ่ายได้เลยตามความเหมาะสม แสงไม่พอแฟลชก็จะขึ้นเอง ปรับ iso ไม่ได้ (คือไม่ต้องปรับอะไรหนะถ่ายอย่างเดียวพอ) ส่วนโหมดที่เป็นตัวอักษร P ก็จะคล้าย Auto แต่ปรับอย่างอื่นได้บ้าง ค่อยมาว่ากันทีหลังละกันครับ โหมด A S AV TV คือการปรับอย่างใดอย่างหนึ่งเอง คือ ปรับรูรับแสงเอง กล้องจะปรับความไวชัตเตอร์ให้อัตโนมัต หรือปรับความไวชัตเตอร์เอง กล้องจะปรับรูรับแสงให้อัตโนมัติ และ M กล้องจะให้ปรับเองทั้งสองอย่าง โดยเราต้องดูตัววัดแสงเองว่า พอดีหรือยัง อืมมมมม

จบตอนแรก ไปลองถ่ายดูน้อง อิอิ

No comments:

Post a Comment