Sunday, February 28, 2010

สอนถ่ายรูปหน่อย ตอน 2


หลัง จากรู้จักส่วนประกอบในการให้เกิดภาพแล้ว รู้จักโหมดต่างๆไปบ้างแล้ว ลองใช้ไปบ้างแล้ว คราวนี้เรามาดูกันต่อนะครับว่า การทำงานของกล้องจริงๆ มันเป็นยังไง พอดีผมมีกล้องฟิล์มเก่าๆ (SLR) อยู่ตัวนึงเลยเอามาเป็นแบบสำหรับงานนี้ แต่ผมจะอธิบายแบบกลางๆนะครับ คือไม่ได้หมายความว่าเฉพาะ SLR เท่านั้นที่จะเป็นแบบนี้ กล้องอะไรๆ ก็น่าจะเป็นแบบนี้นะครับ

มา ดูกันที่ส่วนแรกคือเลนส์ ตัวที่ให้ควบคุมความชัดของภาพที่จะได้ เลนส์จะมีวงแหวนปรับความชัด หรือปรับ Focus นั่นเอง นอกจากนั้นก็จะมีวงแหวนปรับซูม (หรืออาจไม่มี ถ้าเป็นเลนส์แบบไม่มีซูม อิอิ) วงแหวนที่มีจะมี scale บอกระยะ หรือช่วงในการปรับต่างๆ เช่นระยะโฟกัสเป็นเมตรหรือฟุต ช่วงซูมมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (mm.) อีกส่วนประกอบนึงที่อยู่ในเลนส์ตัวนี้คือรูรับแสงครับ ก็จะมีวงแหวนสำหรับปรับอีกเช่นกัน และมี scale บอกอีกเช่นกัน ตามที่เคยบอกไว้นะครับ เลนส์ตัวนี้จะปรับรูรับแสงได้กว้างสุดที่ 3.5 ต่อไปก็ 5.6 8 11 16 และแคบสุดที่ 22 อาจมีคนถามว่าไม่เห็นเหมือนกับที่ยกตัวอย่างในตอนที่แล้วเลย อ่อคือว่า มันจะไม่สามารถปรับได้ครบขนาดนั้นหรอกนะครับ แล้วแต่เลนส์ที่ผลิตออกมามากกว่าครับว่าจะให้ปรับได้แค่ไหน ค่อยมาว่ากันอีกทีละกันครับ อีกอย่างครับ ถ้าดูจากรูปจะเห็นว่ารูรับแสงจะเป็นรูปหกเหลี่ยม ก็คือแผ่นที่เอามาประกอบเป็นรูรับแสงมันมีหกชิ้นนั่นเองครับ

มา ดูกันต่อที่ตัวกล้องนะครับ ในตัวกล้องก็จะมีสองส่วนที่เหลือที่จะทำให้ได้ภาพคือ ม่านชัตเตอร์ และตัวรับภาพ ในตัวอย่างจะเป็นม่านชัตเตอร์แบบโลหะ เคลื่อนที่ในแนวตั้งนะครับ ม่านจะมีสองชุด การทำงานของมันคือชุดหนึ่งจะปิดอยู่ก่อน และอีกชุดจะเปิดอยู่ ชุดแรกจะทำหน้าที่เปิดให้แสงเข้ามา ส่วนชุดหลังจะทำหน้าที่ปิดการรับแสงตามเวลาที่เหมาะสม ก็อย่างที่บอกไปตอนที่แล้วนะครับ จะใช้หนว่ยวินาทีและเศษหนึ่งส่วนวินาทีในการเรียก ไม่ใช้ศูนย์จุดนะครับ (แต่ในคอมพิวเตอร์มักจะเจอ 0.5 วินาที อะไรแบบนี้ด้วย) ตัวนี้ก็จะปรับได้เร็วที่สุดคือ 1/2000 วินาที แค่ปกติจะไม่เขียน 1/ นะครับ เค้าจะเรียกว่า 2000 ไปเลย หมายถึง 1/2000 นั่นแหละ น้อยลงมาก็จะเป็น 1000 500 250 125 60 30 15 8 4 2 1 และ B คือ Bulb หรือกำหนดเวลาเอง (กล้องตัวนี้ก็คือนับเอาเองว่าจะเอากี่วิฯ หรือกี่นาที) ส่วนตัวรับภาพของกล้องตัวนี้คือฟิล์ม มันก็จะวางพาดอยู่หลังม่านชัตเตอร์นั่นหละครับ ถ้าเป็นกล้อง Digital มันก็จะเป็นตัวเซนเซอร์รับภาพแทนไป (ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม แต่มีกล้องบางรุ่นที่มีเซนเซอร์ขนาดเท่าฟิล์ม)






ส่วน อีกตัวนึงที่ผมยังไม่ได้พูดถึง เพราะว่ามันจะมีอยู่ในกล้องที่เป็น SLR เท่านั้นก็คือ กระจกสะท้อนภาพ ซึ่งจะเห็นอยู่ด้านหน้าของกล้อง มันจะทำหน้าที่ในการสะท้อนภาพที่ผ่านเลนส์เข้ามา ขึ้นไปยังส่วนที่เรียกว่าหัวกะโหลก หรือตรงช่องมองภาพนั่นเองครับ กล้องแบบที่เป็น compact หรือพวก range finder จะไม่มีตัวนี้ การทำงานของมันคือสะท้อนภาพ แต่จะเห็นว่ามันจะบังตัวม่านชัตเตอร์อยู่ด้วย เพราะฉะนั่นเวลาเรากดชัตเตอร์ กระจกตัวนี้จะกระดกหลบขึ้นไปด้านบน เพื่อให้แสงผ่านเข้าไปยังตัวรับภาพได้ ดังนั้นภาพที่เรามองจากช่องมองภาพจะมืดไปแว็บนึง ตามความไวชัตเตอร์ที่ใช้ถ่ายภาพนั่นหละครับ

รูรับแสง 22

รูรับแสง 11

รูรับแสง 5.6

รูรับแสง 3.5



เอา เป็นว่า ก็ประมาณนี้นะครับ ส่วนประกอบของกล้องที่จะทำให้เกิดภาพได้ ไม่ว่าจะกล้องอะไร ต้องมีสิน่า จะกล้องฟิล์มปัญญาอ่อน ปัญญาแข็ง โลโม่ โอโม่ โอแม้ว กล้องดิจิตอล คอมแพค SLR-Like ไม่ like มันต้องมีสิน่า สี่ตัวนี้ (อาจจะขาดไปบางอย่าง ในกล้องบางแบบ) เดี๋ยวถ้ามีเวลาอีกจะทำเป็น clip มาให้ดูดีกว่า ชัดๆกันไปเลย

ส่วนตอนนี้จะดูเป็นทฤษฎีมากไป เพิ่มเติมให้อีกนิดเรื่องของผลของความไวชัตเตอร์ละกันครับเผื่อจะได้ไปลอง กัน ความไวชัตเตอร์มันสัมพันธ์ตรงๆกับรูรับแสงอยู่แล้ว มันมีผลกับภาพยังไง เอาง่ายๆ ของที่ดิ้นได้ ขยับได้ มันจะมีผลในภาพ หากว่าเราใช้ความไวสูงๆ เราอาจเห็นสิ่งที่เคลื่อนไหว ดูเหมือนไม่เคลื่อนไหว แต่หากเราใช้ ความไวชัตเตอร์ต่ำๆ สิ่งที่เคลื่อนไหวขณะที่ม่านชัตเตอร์เปิดอยู่ ก็จะแสดงความเคลื่อนไหวของมันให้เห็นในภาพเอง ลองดูจากตัวอย่าง การใช้ชัตเตอร์ต่ำๆนะครับ แล้วก็ไปลองกันดูครับ

ภาพ ตัวอย่าง ใช้ชัตเตอร์เกิน 1-2 วินาที ต้องใช้ขาตั้งกล้อง และคนในภาพต้องนิ่งอยู่จนกว่ากล้องจะทำงานเสร็จนะครับ จะมีน้ำเท่านั้นที่ไหลผ่านจนเป็นทางสีขาว ดูเหมือนจะนุ่มนวลครับ



เชิญ comment หรือสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ ไว้เจอกันตอนหน้าครับ

No comments:

Post a Comment