Wednesday, March 3, 2010

Micro four thirds system.

สวัสดีครับ
จริงๆวันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาทฤษฎีอะไรมากมาย ก็เริ่มมาจากคำถามอีกแหละครับ
เรื่องมันเริ่มต้นจากบทสนทนาใน MSN

เด็กชายโหน่ง : พี่ทอม
เด็กชายโหน่ง : ว่างก่อ (ว่างไม๊)
เด็กชายโหน่ง : ขอความรู้หน่อย
ToMmY : ว่า
เด็กชายโหน่ง : http://www.zoomcamera.net/บทความ-เปรียบเทียบ-กล้องดิจิตอล/Review-Panasonic-GF1.html
เด็กชายโหน่ง : ทำไมไอ้นี่มันแพงกว่า พวก dslr คับ
เด็กชายโหน่ง : มีโอลิมปัสแหม (แหม=อีก)
เด็กชายโหน่ง : รุ่นที่เปลี่ยนเลนส์ได้นะ
เด็กชายโหน่ง : หยั่งมันมาแพง (หยั่ง=หยั๋ง=ทำไม)

นี่หล่ะครับ ต้นเหตุ
กล้องที่พูดถึงอยู่นี่ก็มีด้วยกันสองตัว สองค่าย
1. Panasonic GF1
2. Olympus ตัวนี้ไม่ได้คุยกันเรื่องรุ่น แต่ก็เดาได้ว่าเป็น E-P1, E-P2 หรือ E-PL1 ตัวใดตัวนึงหรือทั้งหมด (ว่ามาซะยาว)

กล้องพวกนี้เป็น standard ใหม่ หรือเรียกว่าเป็น format ใหม่
ต้องย้อนกลับไปมองว่า กล้องถ่ายรูปมันมีกี่ standard หรือ กี่ format
ที่เห็นชัดๆทุกวันนี้ก็จะมีกล้องที่เป็น SLR และ compact (คงรู้จักกันดีแล้ว)
แล้วมันมีอะไรอีกหล่ะ ก็เช่นพวก Medium format ที่ส่วนใหญ่จะเห็นเอาไว้ถ่ายแบบในสตูดิโอ (ที่ต้องส่องจากด้านบนกล้องหน่ะ)
ใหญ่ไปอีกก็ Large format หรือเล็กๆไปอีกก็มีนะ ไม่พูดถึงละกันนะครับ

กลับมาที่ format ใหม่ที่ว่า คือ Micro four thirds system.
ก่อนจะมาเป็นตัวนี้ มันจะเป็นอะไร ไปไม่ได้นอกจาก four thirds system เฉยๆ
เพราะ Micro คือเล็กกว่าเดิมนั่นแหละ แล้ว four thirds มันคืออะไร
อธิบายสั้นๆ ก็คือ ตัวรับภาพในกล้อง (sensor) มีอัตราส่วนเป็น 4:3 นั่นเองครับ (บางท่านคงจะรู้แล้ว)
บางท่านที่เล่น SLR ค่ายฮิต ก็อาจจะเริ่มสงสัยแล้ว "ของผมเป็น 3:2 นะเฟ่ย"
ใช่ครับ อันนั้นก็เป็นอีก format นึงครับ (ชักจะหลาย format ซะละ)
เฉพาะเรื่องของ อัตราส่วนของ sensor ก็จะงงกัน เลยเอารูปมาให้ดูกันดีกว่า

รูปนี้ยืมมาจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Four_Thirds_system นะครับ
จากรูปก็จะเห็นว่าเป็นการเทียบขนาดของ sensor ใน format ต่างๆ รวมถึง film 35mm. ด้วย
กลุ่มเล็กๆนั่นจะเป็นพวก compact นะครับ ส่วนกลางๆก็จะเป็น SLR ค่ายต่างๆ
ที่ระบุค่ายไปแล้วก็เห็นว่ามี Nikon Pentax Sony Canon Sigma
ที่เหลือที่ไม่ระบุ ก็เหมาเอาว่าเป็น four thirds ละกัน อิอิ
จริงๆ ก็จะมี Fuji Kodak Leica Olympus Panasonic Sanyo Sigma(บางตัว)

น่าจะพอเข้าใจในเบื้องต้นกันแล้วนะครับ พักครึ่งซักหน่อยละกันครับ
สวัสดีครึ่งตอน

No comments:

Post a Comment